บุญบัวคลินิก บริการนวดจัดกระดูกรักษาอาการ มากกว่า 30 อาการ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มโรค/อาการ



ก)   อาการทางด้านกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อ และพังผืด รวมถึงการกดทับเส้นประสาท ยกตัวอย่าง ได้แก่

        โรคออฟฟิศซินโดรม  ปวดคอบ่าไหล่  โรคไหล่ติด  สะบักจม  เจ็บข้อศอก  ปวดหลังปวดเอว   หลังแข็งก้มไม่ได้   ปวดสะโพกร้าวลงขา  ปวดขาชาเท้า  หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  นิ้วล็อก  ปวดข้อมือ  รองช้ำ(เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ)  ปวดข้อเข่า  ข้อแพลง  ปวดเมื่อยทั่วร่างกาย  มือตายเท้าตาย   ตะคริว  เหน็บชา  เป็นต้น 

 ข)   อาการเกี่ยวกับระบบและอวัยวะภายในร่างกาย ยกตัวอย่าง ได้แก่

       อาการเกร็งจากอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมอง   อาการปวดประจำเดือน  มดลูกต่ำ มดลูกลอย  อาการจุกเสียด-ท้องแข็ง   อาการท้องผูก   อาการลมแน่นท้อง อาการลมตีขึ้นจุกหน้าอก  อาการกรดไหลย้อน  ปวดศีรษะ-คลื่นเหียน-วิงเวียน   โรคนอนไม่หลับ  น้ำเหลืองเสีย   ภูมิแพ้   เครียด-วิตกกังวล-หงุดหงิด  ปวดเมื่อยตา  โรคลมชัก  สตรีหลังคลอดไม่มีน้ำนม  หายใจไม่เต็มอิ่ม  อ่อนเพลียเมื่อยล้า  หูอื้อ-ลมออกหู-ปวดหู   อัมพาตใบหน้า  เป็นต้น 

 ค.) การแก้ไขโครงสร้างร่างกายที่ไม่สมดุล เช่น 

         การปรับกระดูกเพื่อแก้ไข ภาวะกระดูกหลังโก่ง หลังค่อม กระดูกสันหลังคดหล่ไม่เท่ากัน คอเอียง เอวไม่เท่ากัน ขายาวไม่เท่ากัน คอยื่น ไหล่ห่อ  ขาโก่ง เท้าแบะ เป็นต้น

 

รายละเอียดอาการต่างๆ ดังนี้ 

  1. ปวดคอ สะบัก ไหล่ จากอาการกล้ามเนื้อบริเวณรอบคอ สะบัก และไหล่ ตึงเคร่ง เกิดอาการปวดจี๊ดขึ้นหัวจากท้ายทอย บางครั้งทำให้เกิดอาการปวดศีรษะคล้ายไมเกรน หมุนคอลำบาก อันมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการก้มคอทำงานเป็นเวลานานๆ (โรคออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome) เช่นการนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ ตรวจงาน เขียนหนังสือ ก้มใช้แทปเลตหรือมือถือเป็นเวลานานๆ  นอนหมอนสูงเกินไป เป็นต้น

  2. ปวดข้อหัวไหล่ Rotator Cuff Tendonitis เกิดจากกล้ามเนื้อและเอ็นหุ้มข้อรอบบริเวณหัวไหล่ เกิดการบาดเจ็บและอักเสบจากการใช้งานหนักหรือการเล่นกีฬา

  3. อาการข้อหัวไหล่ติด (Frozen Shoulder) หมุนหัวไหล่แล้วเจ็บ เกิดพังผืดยึด อักเสบ ยกแขนขึ้นสุดไม่ได้ เอาแขนป่ายไปด้านหลังไม่ได้ (ท่าปลดยกทรง) ยกแขนขึ้นข้างบนแนบชิดหูไม่ได้ เกิดจากการอยู่ในท่ายกแขนเป็นเวลานาน หรือยกแขนขึ้นลงบ่อยๆ

  4. เจ็บข้อศอก Epicondylitis ปวดข้อศอกเวลาออกแรงทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ยกของหนัก ทำงานบ้าน บิดผ้า เป็นต้น และกดเจ็บบริเวณตุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก (โรคข้อศอกนักเทนนิส Tennis Elbow) หรืออาการเจ็บอยู่ที่ตุ่มกระดูกข้อศอกทางด้านใน (โรคข้อศอกนักกอลฟ์ Golfer Elbow)

  5. ชาแขน ชามือ ปวดร้าวลงแขน อาจเกิดมาจากกล้ามเนื้อสะบักอักเสบ บางรายภ้าเป็นมากจะมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย หรืออาจเกิดมาจากกระดูกต้นคอทับเส้นประสาท หรือหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทช่วงคอ  (Cervical radiculopathy) ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ บ่า ร้าวลงแขน หันศีรษะแล้วปวด ปวดร้าวลงสะบัก ชานิ้วมือ เป็นต้น

  6. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) กลุ่มอาการนี้เกิดขึ้นมากในกลุ่มคนทำงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงการใช้เม้าส์ เป็นเวลานาน ผู้เป็นโรคนี้จะอาการปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัด หรือมีอาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย

  7. ภาวะนิ้วล็อค (Trigger finger) มีอาการเจ็บและมีเสียงดังกึก ทำให้เส้นเอ็นไม่โก่งตัวออกเมื่องอนิ้ว  ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้าน ที่ใช้มือทำงานอย่างหนัก เช่น หิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ชอปปิ้ง บิดผ้า ส่วนในผู้ชายมักจะพบในผู้ที่มีอาชีพที่ต้องใช้มือหนักๆ เช่น พนักงานพิมพ์ดีด นักกอล์ฟ ช่างที่ใช้ไขควงหรือเลื่อย ช่างงานฝีมือ และหมอนวดแผนโบราณ เป็นต้น

  8. ปวดหลังช่วงล่าง ปวดเอว (Lower back pain) แบบไม่มีอาการปวดร้าวลงขา มักเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเกิดการเคล็ดยอก จากการก้มยกของ หรือเอี้ยวตัว อย่างทันทีทันใด หรือนั่งเกร็งหลังเป็นเวลานานๆ ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป หรือการอุ้มครรภ์ เป็นต้น

  9. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทช่วงเอว (Herniated/Bulging disc) โรคซึ่งเกิดจากหมอนรองกระดูกเสื่อม จึงปลิ้นเลื่อนออกจากข้อกระดูกสันหลังเข้าไปอยู่ในช่องกระดูกสันหลังไปกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในในช่องกระดูกสันหลัง ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ขึ้น โดยอาการสำคัญมักเป็นการปวดหลังร้าวลงสะโพกและลงขา เนื่องจากหมอนรองกระดูกกดทับประสาทไซแอติก (sciatic nerve) บริเวณกระเบนเหน็บ

  10. ปวดก้น ปวดสะโพก ปวดตรงสลักเพชร หรือโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis Syndrome) เป็นภาวะที่ไม่ได้เกิดบริเวณกระดูกสันหลัง แต่ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับการกดทับของเส้นประสาทที่หลังบริเวณเอวได้ คือจะมีอาการปวดจากก้นสะโพกข้างใดข้างหนึ่งร้าวลงไปถึงข้อพับเข่า บางรายอาจมีอาการชาอ่อนแรงหากมีอาการรุนแรงมานาน จะนอน นั่งท่าไหนก็ปวด

  11. ปวดต้นขา มีอาการปวดต้นขาด้านหน้า ร่วมกับเวลานั่งยองๆ แล้วจะลุกขึ้นยืน จะรู้สึกปวดเวลาที่จะลุก ไม่มีปวดร้าวไปไหน กดไม่เจ็บ รู้สึกเหมือนเจ็บในกระดูก และรู้สึกไม่มีแรงเวลาจะยกขา การบาดเจ็บกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstring) อาการ เมื่อกดลงตรงบริเวณที่มีการฉีกขาดจะมีอาการเจ็บปวดมาก และมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ระยะต่อมาจะมีอาการบวม จากการมีเลือดคั่งตรงบริเวณที่มีการฉีกขาด 

  12. ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม (Knee pain and osteoarthritis of knee) อาการปวดหัวเข่าหลายครั้งเกิดจากการเล่นกีฬา หรือจากอุบัติเหตุ แต่บางคนก็มีอาการปวดหัวเข่าโดยที่ไม่ได้มีสาเหตุที่ชัดเจน อาการปวดที่บริเวณด้านหน้าของหัวเข่าอาจเกิดจากการอักเสบของข้อ หรือกระดูกอ่อนที่สะบ้า อาการปวดทางด้านข้างของเข่าอาจเกิดจากการบาดเจ็บของเส้นเอ็นด้านข้าง collateral ligament ข้ออักเสบ หรือการฉีกขาดของกระดูกอ่อน meniscus อาการปวดทางด้านหลังอาจจะเกิดจากข้ออักเสบ หรือมีถุงน้ำ ที่เรียกว่า Baker’s cyst ซึ่งจะเป็นก้อนปูดออกมาที่ด้านหลังหัวเข่า

  13. ปวดศีรษะ-ไมเกรน (headache) ปวดหู ปวดกระบอกตา กระหม่อม ซึ่งมีลักษณะปวดตื้อหรือแน่นบริเวณหน้าผากหรือด้านหลังศีรษะและลำคอ ปวดศีรษะแบบตุบ ๆ ข้างเดียวอย่างไมเกรน อาจมีหลายสาเหตุ โดยเฉพาะเวลามีภาวะเครียดกล้ามเนื้อต้นคอแข็งตึง หรือภาวะที่ก้มคอ ยื่นคอเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งทำคอมพิวเตอร์นานๆ

  14.  ภาวะข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (Temporomandibular Joint Disorder) เคี้ยวอาหารแล้วได้ยินเสียงคลิกบริเวณหู หรือที่เรียกว่า ขากรรไกรลั่น ขากรรไกรมีเสียง ปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร อาจปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียว ปวด หรือเจ็บร้าวบริเวณรอบหูเวลาเคลื่อนไหวปากจะมีอาการปวดใบหน้า อาจจะทั้งสองซีกหรือซีกใดซีกหนึ่ง มีอาการขากรรไกรค้าง อ้าปาก หรือหุบปากไม่ได้
  15. โรครองช้ำ หรือโรคพังผืดส้นเท้าอักเสบ (Plantar fasciitis) คือ การมีจุดปวดบนเท้า ส้นเท้า เช่น เวลาเดินลงน้ำหนัก โดยเกิดจากการอักเสบ หรือฉีกขาดของผังผืดฝ่าเท้า Plantar Fascia ที่สัมพันธ์กับการเดินลงน้ำหนักที่เท้า มีอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งใกล้ส้นเท้า โดยเจ็บคล้าย ๆ กับมีของแหลมมาทิ่ม โรครองช้ำนี้จะเป็นมากช่วงเช้า หลังตื่นนอน เมื่อก้าวเท้าก้าวแรก และจะมีอาการดีขึ้น เมื่อมีการบริหารฝ่าเท้า แต่บางครั้งอาจจะปวดทั้งวัน หากยืนนาน ๆ หรือเดินนาน ๆ

  16. ข้อแพลง (ligament sprain) เกิดจากเส้นเอ็นและ/หรือ กล้ามเนื้อที่ยึดอยู่รอบๆ ข้อต่อกระดูกมีการฉีก เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ เช่น หกล้ม ข้อบิด ข้อพลิก ถูกกระแทก หรือยกของหนัก มักจะเกิดขึ้นกับเอ็นข้อเท้าและข้อมือ อาการจะรุนแรงมากน้อยขึ้นกับปริมาณของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด

  17. กลุ่มอาการทีโอเอส หรือ TOS (Thoracic Outlet Syndrome) เกิดจากการกดทับของเส้นเลือดและเส้นประสาทบริเวณระหว่างต้นคอกับรักแร้ไปจนถึงด้านหน้าของไหล่และหน้าอก ผู้ป่วยอาจมีอาการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่ามีการกดทับบริเวณเส้นประสาทหรือหลอดเลือด ซึ่งหากเกิดการกดทับที่หลอดเลือดก็อาจทำให้มีอาการ เช่น ปวดและบวมที่แขน ซึ่งอาจเกิดจากการกดทับจนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกแล้วเกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณดังกล่าว แขนอ่อนแรง มือและนิ้วเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือม่วงคล้ำคล้ายฟกช้ำ แขน มือ และนิ้วมือเย็นผิดปกติ เป็นต้น

  18. ภาวะเอ็นบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออักเสบ หรือ เดอโกแวง (De Quervain) เป็นการอักเสบและตีบแคบของปลอดหุ้มเอ็นของกล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ สาเหตุเกิดจากการใช้มือและข้อมือข้างที่เป็นมากหรือเกินกำลังบ่อยๆ เช่น ซักผ้า บิดผ้า ขัดถูก เป็นต้น นอกจากนี้อาจพบโรคนี้ในหญิงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดที่ต้องใช้ข้อมือมากๆ เช่น อุ้มเด็ก ถือของ เป็นต้น อาการจะปวดมากโดยเฉพาะเวลาหยิบหรือจับสิ่งของ
18.โรคข้อต่อขากรรไกร ความผิดปกติบริเวณข้อต่อขากรรไกรล่าง (temporomandibular joint disorder, TMD) จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหน้าหู หรือปวดบริเวณใบหน้า, ศีรษะ อ้าปากมีเสียงคลิ๊ก และอาการอื่นๆ เช่น ปวดฟัน, อ้าปากได้ไม่เต็มที่, ปวดขณะอ้าปาก เป็นต้น 

19. โรคปวดทั่วร่างกายเรื้อรัง Fibromyalgia (ไฟโบรมัยอัลเจีย) เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแตกต่างกันไป และความรุนแรงของอาการป่วยอาจไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับระดับความเครียด สภาพอากาศ และสุขภาพของผู้ป่วยในขณะนั้น ผู้ป่วยมักมีอาการไวต่อความรู้สึกปวด กล้ามเนื้อตึง ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท อ่อนเพลีย มีปัญหาด้านการคิดและการเรียนรู้ เช่น ไม่มีสมาธิ พูดช้า พูดไม่รู้เรื่อง เป็นต้น ลำไส้แปรปรวน ท้องอืด รู้สึกจุกแน่นในท้อง ท้องผูก หรือท้องเสีย
 
20. กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด Myofascial Pain Syndrome (MPS) คือกลุ่มอาการปวดร้าว (Referred pain) และ/หรืออาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เนื่องจากมีจุดปวด/จุดกดเจ็บ (Trigger point) ที่กล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อพังผืด โดยพบร่วมกับภาวะกล้ามเนื้อหดตัวเกร็ง สาเหตุมาจากการใช้กล้ามเนื้อมัดที่เกิดอาการผิดท่าทาง ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานๆ และต่อเนื่อง จนเกิดความผิดปกติในการหดตัวของกล้ามเนื้อตำแหน่งนั้นขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการปวดตื้อๆ ลึกๆ เช่น ปวดบริเวณสะบัก จะปวดคล้ายสะบักจม ปวดร้าว ปวดบริเวณก้านคอ ขมับ กรามล่าง และครอบคลุมถึงบริเวณศีรษะ เป็นต้น ความรุนแรงของอาการ มีได้ตั้งแต่ปวดเมื่อยน่ารำคาญ จนถึงปวดรุนแรง
 
21. เอ็นอักเสบ (Tendinitis) คือ การบวมเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อ  สาเหตุที่เอ็นอักเสบมักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำ ๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า เข่า หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อ สาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรคเอ็นอักเสบ คือการกระทบกระแทก หรือการใช้งานบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการทำงาน จากการเล่นกีฬา หรือจากอุบัติเหตุ ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเกิดโรคเอ็นอักเสบ
 
22. โรคนักวิ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่เข่าด้านนอก (IT band syndrome) วิ่งไปได้สักระยะหนึ่งจึงจะเริ่มปวด แต่ถ้ายังคงฝืนวิ่งต่อไปอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นจนเราวิ่งต่อไม่ไหว นอกจากนี้นักวิ่งอาจจะมีอาการพร้อมกันในหลายจุดเช่น อาการปวดหน้าแข้ง (Shin splints) อาการปวดขาหนีบ (Groin pain) อาการปวดใต้ข้อพับเข่า (Hamstring strain) เป็นต้น 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้