ผงกล้วยดิบแคปซูล รักษากรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ลำไส้

Last updated: 18 เม.ย 2568  |  17 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผงกล้วยดิบแคปซูล รักษากรดไหลย้อน โรคกระเพาะ ลำไส้

"สามราชาสมุนไพรแห่งการรักษากระเพาะ-ลำไส้" 
ผงกล้วยน้ำว้าดิบ ผงขมิ้นชัน ผงลูกยอ

สมุนไพรจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ ทำขึ้นเป็นสูตรพิเศษ สำหรับใช้แก้้้ไขอาการกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ แผลในลำไส้ เป็นสูตรธรรมชาติบำบัดที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างแพร่หลายในขณะนี้ และเพื่อความสะดวกจึงทำในรูปแบบแคปซูลพร้อมรับประทาน ทำให้พกพาได้และรับประทานสะดวก ใช้ทานประกอบควบคู่กับการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต จึงจะได้ผลเต็มที่ ปรุงตามหลักเภสัชกรรมการแพทย์แผนไทย


จำหน่ายเฉพาะรายให้ผู้ป่วยที่มารับการรักษาในคลินิกการแพทย์แผนไทย (ไม่มีจำหน่ายทั่วไป)
ขวดละ 220 บาท

หนึ่งกระปุกมี 120 แคปซูล 

รับประทาน 3-4 แคปซูลก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น

ส่วนประกอบหลัก ผงกล้วยน้ำว้าดิบปลูกตามธรรมชาติ ผงจากหัวแม่ขมิ้นชันแก่ ผงจากผลลูกยอห่าม  ที่มาจากพืชธรรมชาติล้วน ไม่มีสารเคมีใดๆ ผ่านกรรมวิธีสะอาดปลอดภัยตามหลักเภสัชกรรมแผนไทย


✿ กล้วยน้ำว้าดิบ

- ถูกนำมาใช้รักษาอาการแผลในกระเพาะอาหารมานานแล้ว

- ในกล้วยดิบมีสารสำคัญที่ให้รสฝาดและช่วยสมานแผลชื่อ สารแทนนิน ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และช่วยเคลือบแผลในกระเพาะได้ดี

- สารเซอโรโทนิน ช่วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างเยื่อเมือกตามธรรมชาติออกมาเคลือบแผล แต่จะไม่กระทบกับการหลั่งน้ำย่อย ซึ่งจะช่วยลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนท้องโดยที่ไม่ทำให้การย่อยลดประสิทธิภาพลง ในขณะที่ยาเคลือบแผลในกระเพาะอาหารโดยมากออกฤทธิ์เพียงเคลือบป้องกันแผล แต่กล้วยมีฤทธิ์ทั้งป้องกันและสมานแผลในกระเพาะอาหารควบคู่ไปด้วย

- ช่วยยับยั้งการหลั่งกรด กระตุ้นลำไส้ให้บีบตัว ขับถ่ายง่าย

- วิตามินบี 1-2-6 ช่วยเสริมภูมิต้านทานและส่งเสริมการทำงานของประสาท

- โพแทสเซียมสูง เพิ่มแร่ธาตุบำรุงร่างกาย มีประโยชน์ต่อผิวพรรณ ลดคอเรสเตอรอล และไขมันในเส้นเลือด


  ✿ ขมิ้นชัน

 - ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

- ลดอาการลำไส้อักเสบ

- ลดอาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ

- ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้


✿ ลูกยอ

- รักษากรดไหลย้อนได้ โดยมีผลช่วย เพิ่มการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้หูรูดหลอดอาหารแข็งแรงขึ้น และทำให้อาหารเคลื่อนจากกระเพาะไปสู่ลำไส้เล็กได้ดีขึ้น

 - ช่วยป้องกันหลอดอาหารอักเสบจากกรดไหลย้อน

- ช่วยย่อยอาหาร ขับลม

 - ทำให้อาหารไม่ตกค้าง ไม่เกิดลมในกระเพาะอาหาร ลดการเกิดแรงดันที่ทำให้กรดไหลย้อน

- ช่วยเร่งการสมานแผลของกระเพาะอาหาร

- ลดการอักเสบของกะเพราะอาหารเฉียบพลันจากแอลกอฮอล์

- ลดการหลั่งกรดได้ดีเทียบเท่ากับยารานิทิดีนและแลนโซพราโซล




ท่านจะได้รับใบแนบคำแนะนำในการปฏิบัติตนช่วงรักษาตัว

แม้ว่ากรดไหลย้อนจะเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิต แต่น้อยคนที่จะให้ความสำคัญ...ในการรักษากรดไหลย้อนให้หายขาด! ทำเพียงบรรเทาอาการด้วยการทายาลดกรด ซึ่ง นพ.อมฤต  ตาลเศวต ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดส่องกล้อง รพ.พญาไท 2 ได้อธิบายว่า... การทานยาลดกรด อาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ 
แสบร้อนกลางหน้าอก อาการเริ่มต้นที่บอกถึง “กรดไหลย้อน”
กรดไหลย้อนเป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร เกิดจากความผิดปกติบริเวณหูรูดกระเพาะอาหารซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร แม้ว่าโดยปกติบริเวณดังกล่าวจะมีการคลายตัวที่ทำให้เรา “เรอ” เมื่อทานอาหารอิ่มหรือแน่นท้อง แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการ “แสบร้อนกลางหน้าอก” (Heart Burn) ตั้งแต่ด้านหลังขึ้นมาถึงช่วงอก บางคนรู้สึกได้ถึง  “รสเปรี้ยวขึ้นในลำคอ” นั่นหมายความว่า น้ำย่อยของเรากำลังตีขึ้นมาถึงหลอดอาหารจากความเสื่อม หรือความหย่อน หรือการคลายตัวที่ผิดปกติของหูรูดกระเพาะอาหารนั่นเอง



กรดไหลย้อนชนิดไม่รุนแรง รักษาได้...ด้วยการปรับพฤติกรรม
นพ.อมฤต ตาลเศวต ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดส่องกล้อง รพ.พญาไท 2 ให้คำแนะนำง่ายๆ ในการรักษาโรคกรดไหลย้อนที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนชนิดไม่รุนแรง แค่ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ อาหารบุฟเฟ่ต์ที่จะยิ่งทำให้กระเพาะขยายตัวจนหูรูดถ่างออกจนเกิดกรดไหลย้อนขึ้นมา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อคโกแลต ซึ่งกระตุ้นให้หูรูดคลายตัวมากขึ้น ซึ่งหากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมยังไม่สามารถช่วยได้ ก็จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป



รู้หรือไม่? ใช้ยาลดกรด อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ 
ทานยาลดกรดในกระเพาะอาหาร เป็นวิธีการรักษากรดไหลย้อนที่นิยมใช้กันทั่วไป แต่ก็มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถรักษากรดไหลย้อนให้หายขาดได้ หากคนไข้หยุดรับประทานยาก็มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก คุณหมอให้แนวคิดถึงเรื่องดังกล่าวว่า... อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากสาเหตุหลักคือความผิดปกติของหูรูดกระเพาะอาหาร ซึ่งในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น เช่น กรดไหลย้อนเข้าไปกัดหลอดอาหาร หรือไหลย้อนขึ้นไปถึงหลอดลม มีอาการเสียงแหบ เป็นหอบหืด ข้อบ่งชี้ดังกล่าวไม่สามารถทานยาลดกรดได้
ที่มา https://www.phyathai.com/article_detail/2130/th/

 


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้