บริการตรวจ วินิจฉัย นวดปรับกระดูก รักษาอาการและปรับสมดุลร่างกาย โดยแพทย์เฉพาะทาง


 
ยินดีต้อนรับ

บุญบัวคลินิกการแพทย์แผนไทย (นวดไทย) ได้รับอนุญาตเปิดเป็นสถานพยาบาล แบบไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ตามใบอนุญาตที่ 50108000861 โดยกระทรวงสาธารณสุข 

ตั้งอยู่ที่ 41/1 ถนนเจริญสุข ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (บริเวณห้าแยกสันติธรรม) ดำเนินการและปฏิบัติงานทางการแพทย์เพื่อบำบัดรักษาโรคด้วยหัตถเวชกรรม (การรักษาผู้ป่วยด้วยมือ) โดยทีมแพทย์แผนไทยที่ได้รับการรับรองจากสภาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก  เพื่อเปิดให้บริการแก่ประชาชนเป็นการรักษาทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในการรักษา, แก้ไข, บำบัด ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดทางกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อกระดูก และระบบประสาทที่ถูกรบกวน เช่น จากการถูกกล้ามเนื้อเกร็งรัด หรือพังผืดกดทับ และเพื่อช่วยลดภาระทางโรงพยาบาลภาครัฐและการรับยาโดยอาจไม่มีความจำเป็น 


 สำหรับท่านที่ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับบุญบัวคลินิกอย่างรวดเร็ว เราได้ให้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์สรุปเนื้อหาในเว๊ปนี้ออกมาเป็น 5 ข้อดังนี้

บริการของเรา

image
บุญบัวคลินิก มีแพทย์ผู้มีความรู้ความชำนาญทางด้านอาการต่างๆที่เกิดจากเส้น (ซึ่งหมายถึง กล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด scar tissue หรือ fascia) และข้อต่อกระดูก ซึ่งก่อปัญหาเบียดเสียด รบกวน หรือทำให้เกิดการติดขัดต่อการไหลเวียนของ โลหิต ธาตุลม น้ำเหลือง และกระแสประสาท ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่างๆ หรือทำให้การเคลื่อนไหวของข้อไม่เป็นไปตามพิสัยปกติ เกิดเป็นอาการปวด เจ็บ ปวดร้าว เสียวแปร๊บ อาการชา อาการอ่อนแรง ขยับไม่ได้ หรือ กล้ามเนื้อลีบ อันอาจเกิดจากท่าทาง อิริยาบถ การเคลื่อนไหวร่างกาย ที่ไม่เหมาะสม การทำงานหนัก การเล่นกีฬา หรือจากอุบัติเหตุแล้วไม่ได้แก้ไข นอกจากนี้ แพทย์แผนไทยยังช่วยตรวจธาตุต่างๆในร่างกายว่าอยู่ในภาวะสมดุลอย่างไรหรือไม่ เช่นมีลมคั่งค้างในเส้น ลมขึ้นเบื้องสูงเป็นต้น

ตัวอย่างผลการรักษา

การเสียสมดุลทางโครงสร้างกระดูก เช่น คอสะบัด (whiplash injury) จากการประสบอุบัติเหตุในอดีตหลายสิบปี ก็สามารถส่งผลต่ออาการเจ็บปวดของเราได้ แม้ในเบื้องต้นจะไม่มีอาการใดๆก็ตาม ขอให้ศึกษาเคสนี้เป็นตัวอย่างครับ

วัยไหนๆก็นวดรักษาได้ ปลอดภัยและได้ผลจริงถ้านวดโดยแพทย์แผนไทย

ผู้ป่วยปวดร้าวลงขา ชาเท้า จากภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอต้องการให้เขาเข้าผ่าตัดอย่างเดียวเท่านั้น

ผู้ป่วยอายุ 17 ปี กระดูกสันหลังคดและกระดูกคอเสียรูปยื่นไปข้างหน้า อันเนื่องมาจากพฤติกรรม

การบริหารร่างกายที่ไม่เหมาะสม เช่น การเล่นโยคะ หรือ crossfit ที่ไม่ระวัง อาจจะทำให้รูปร่างเสียได้

ศาสตร์การนวดจัดกระดูกช่วยแก้อาการเรื้อรังทางกล้ามเนื้อและประสาทได้จริง

พฤติกรรมการกินอาจทำให้ระบบย่อยไม่ดี เกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง จนลมแทรกเข้าเส้น เกิดอาการเกร็งแข็งเจ็บปวดขึ้น

แชมป์มวยไทย 3 สมัย คุณ Hartmann ชาวเยอรมันและเพื่อนชาวสวีเดน เดินทางมานวดรักษาอาการปวดหลังเฉียบพลัน และอาการท้องผูก

เรามีความเชี่ยวชาญด้านการนวดปรับกระดูกสำหรับรักษาอาการปวดหลัง ปวดเอว เรื้อรัง ให้หายได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่ต้องใช้ยา

น้องผู้หญิงที่เริ่มพบว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกสันหลังคดควรรีบรักษาตั้งแต่ยังอายุไม่มากนะครับ หากปล่อยไว้นอกจากจะเสียบุคคลิกแล้วอาจจะมีปัญหาสุขภาพต่างๆตามมาและอาจจะสายเกินไปที่จะแก้ไข

ศาสตร์การนวดรักษา เป็นศาสตร์แห่งภูมิปัญญาที่ควรได้รับความสำคัญ โดยเฉพาะในแวดวงเวชศาสตร์การกีฬา เพราะช่วยรักษาและฟื้นฟูนักกีฬาที่บาดเจ็บได้เป็นอย่างดี

เคสรักษา ภาวะ ตัวเอียง ปวดตึงลำตัวทั้งซีก ปวดเอวขึ้นสะบัก ปวดบ่าขึ้นต้นคอ เป็นผลมาจากร่างกายไม่สมดุล ขาไม่เท่ากัน ทำให้กล้ามเนื้อซีกใดซีกหนึ่งดึงรั้งเกร็งตึงจนก่ออาการ อันมาจากการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานๆ การสะพายกระเป๋า การชอบนอนตะแคง นอนคู้เข่า การนั่งไขว่ห้าง การบริหารร่างกายที่ไม่เหมาะสม 

ภาวะกระดูกเชิงกรานคว่ำไปข้างหน้า (Anterior pelvic tilt) คือลักษณะการเสียสมดุลของร่างกายส่วนล่าง โดยจะเกิดการแอ่นตัวมากเกินไปของหลังช่วงล่าง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Hyperlordosis บ้านเราจะเรียกลักษณะนี้ว่า ก้นงอน หรือ ก้นเป็ด ซึ่งจะมีลักษณะท้องยื่น พุงป่อง (ทั้งๆที่ไม่ได้อ้วน) ตามมา  

ตัวอย่างการรักษาหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น ด้วยการนวดจัดกระดูก โดยเทคนิคของบุญบัวคลินิก

คลิปตัวอย่างการรักษา

คุณยายศรีพรรณ อายุ 79 ปี มาด้วยอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเดินเซ ชาเท้า ขาอ่อนแรง
คุณหมอ วินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทเรื้อรัง หรือสลักเพชรจม ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Piriformis Syndrome นานกว่า10ปี
มารักษาที่บุญบัวคลินิก ครั้งแรก
ตัวอย่างผู้ป่วยอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทขั้นรุนแรง ผู้ป่วยหนุ่มท่านนี้เป็นโรคดังกล่าวมานานหนึ่งปี เดินต้องบิดตัวตลอดเวลา นอนในท่าปกติไม่ได้เลย ต้องนั่งหลับมาหนึ่งปี ทุกข์ทรมานมาก เหตุเพราะการใช้ร่างกายหนักเกินไป โดยเฉพาะโหมเล่นฟิตเนสเล่นกล้ามยกน้ำหนัก จนกล้ามเนื้อในร่างกายบางส่วน เช่นกล้ามเนื้อแกนกลางในช่องท้อง กล้ามเนื้อสะโพกชั้นในและนอก สะสมความเกร็งแน่นมาต่อเนื่อง เมื่อไม่มีการช่วยคลายก็เกิดการรัดตรึงเส้นประสาทเส้นใหญ่ที่หล่อเลี้ยงขา ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในบริเวณสะโพก ขยับขาก็ปวดร้าวลงต้นขาลงใต้ข้อพับเข่า ขาชาไม่มีความรู้สึก  

 การนวดฟื้นฟูผู้ป่วยจากภาวะเส้นประสาทเสียหาย 

 

 

ดูรีวิวผู้ป่วยที่มารักษาที่บุญบัวคลินิกจากหน้าเฟสบุ๊ค

https://www.facebook.com/pg/chiromassagechiangmai/reviews/?ref=page_internal

การรักษาอาการปวดหลังสะโพกร้าวลงขา

ทุกอย่างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ #โรคปวดหลังร้าวขา: ทุพพลภาพ-อัมพาตได้ แต่ก็รักษาให้หายได้ ในราคาหลักพัน
บทความโดย พท. ภัทระ สุทธจิตต์ บุญบัวคลินิก

1. โรคปวดหลัง-เอว-ก้น ชนิดที่แผ่ร้าวลงขา คืออะไร ??
     โรคปวดร้าวลงขาพบว่ามีการศึกษามาเนิ่นนานย้อนไปถึงสมัยกรีกโบราณ ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันเรียกโรคนี้ว่า “ โรคปวดเส้นประสาทไซอาติก” (Sciatica Pain) หรือมักเรียกสั้นๆว่า “ไซอาติก้า” (Sciatica) ซึ่งมาจากภาษากรีกโบราณตั้งขึ้นเพื่อเรียกอาการเจ็บปวดบริเวณสะโพกและต้นขา ชื่อไซอาติก้านี้ไม่เป็นที่คุ้นหูคนไทยแน่นอน แม้ในวงการแพทย์ของไทยเองก็ตาม และเชื่อหรือไม่ว่าโรคนี้ยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทยเลย
2. โรคไซอาติก้า มาจากไหน ??
     ไซอาติก้าเป็นอาการปวดทางระบบประสาทที่เกิดจากการระคายเคืองของเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย (ส่วนกว้างสุดหนาถึง 2ซม.) ที่มีจุดเริ่มต้นออกมาจากบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่างช่วงเอว พาดผ่านสะโพกด้านหลัง ต้นขาด้านหลัง น่อง ไปจนถึงเท้า เส้นประสาทใหญ่เลี้ยงขานี้มีชื่อว่า เส้นประสาทไซอาติก (sciatic nerve) ดังนั้นเขาจึงเรียกอาการปวดร้าวตามแนวดังกล่าวนี้ว่า โรคไซอาติก้า (ต้องแยกให้ออกว่า อาการปวดขาจากกล้ามเนื้อและอาการไซอาติก้า มาจากสาเหตุต่างกัน)
3. อะไรบ้างทำให้เส้นประสาทไซอาติกมีปัญหา ??
    แม้ร่างกายมนุษย์จะถูกออกแบบมาอย่างวิจิตรพิสดารเกือบสมบูรณ์แบบ แต่โชคไม่ดีที่เส้นประสาทนี้ต้องพาดผ่านสิ่งแวดล้อมที่มักสร้างปัญหาให้กับตัวมันได้ง่ายๆ หลักๆมีอยู่ 2 สิ่ง คือ 1.หมอนรองกระดูกปลิ้นไปกดทับมัน 2. กล้ามเนื้อก้นชั้นลึกหนีบรัดมัน ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะปัญหานี้ส่งผลให้เส้นประสาทอักเสบและเกิดอาการปวดตามมา อาการปวดมักปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือเอว ก้น และมีความปวดร้าวไปถึงช่วงขาด้านหลัง ในบางรายอาจร้าวไปถึงน่องหรือเท้า ลักษณะการปวด เช่น เจ็บแปลบ ปวดเหมือนไฟช็อต กล้ามเนื้อกระตุก เจ็บคล้ายเข็มทิ่ม ปวดแสบร้อน และอาการอ่อนแรงกล้ามเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการปวดลงที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง น้อยรายที่จะมีอาการที่ขาทั้งสองข้าง อาการเหล่านี้อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของแต่ละคน
4. แยกยังไงว่าเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือ กล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท (สลักเพชรจม) ??
    ปัจจุบันในวงการแพทย์ทั่วโลกก็ยังมีความสับสนในด้านการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคไซอาติก้า เนื่องจากอาการปวดเอว-สะโพกร้าวลงขาที่เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Lumbar spondylosis) และจากภาวะกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) ที่ภาษาไทยจะเรียกว่า “สลักเพชรจม” มีความละม้ายคล้ายคลึงกันมาก หากไม่ได้ดู MRI ก็อาจวินิจฉัยผิดพลาดได้ การตรวจแยกโรคจึงค่อนข้างลำบากเพราะต้องอาศัยศาสตร์ทางการแพทย์สองแขนง ทั้งนี้แพทย์ด้านกระดูกและข้อ (หมอออร์โธ) อาจตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ แต่อาจไม่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคทางระบบกล้ามเนื้อและพังผืดที่รบกวนระบบประสาท (Neuromuscular disorder) เท่าหมอทางด้านกล้ามเนื้อ ดังนั้นจึงอาจจะไม่แปลกที่มีผู้ป่วยบางส่วนไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาอาการปวดร้าวลงขาแล้วไม่ดีขึ้น
5. อันตรายของโรคไซอาติก้า ทำไมถึงขั้นพิการ หรือเสี่ยงเป็นอัมพาต ??
    อาการปวดร้าวลงขาทั้งสองสาเหตุสามารถทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตลำบากและทุพพลภาพได้ทั้งคู่ โดยขอแยกอธิบายดังนี้
5.1. ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีการดำเนินของโรคเป็นระยะคือ 1. ระยะเริ่มต้น เมื่อหมอนรองกระดูกเกิดความเสื่อมจะส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งในช่วงแรกอาจมีอาการเป็นๆ หายๆ จากนั้นระดับความเจ็บปวดจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยอาการจะเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ 2. ระยะปานกลาง หมอนรองกระดูกจะเริ่มเคลื่อนและปลิ้นออกมา ทำให้เกิดอาการปวดร้าวหรือปวดหลังร้าวลงขา จากนั้นจะเริ่มลามไปที่ขาหรือเท้า ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการชาร่วมด้วย 3. ระยะรุนแรง เมื่ออาการกดทับเส้นประสาทเริ่มมีความรุนแรงขึ้น ก็จะทำให้ร่างกายเกิดความเจ็บปวด ชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้นเท่านั้น รวมทั้งมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่รุนแรง เช่น มีอาการผิดปกติในการควบคุมปัสสาวะและ อุจจาระ เป็นต้น และมีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาแข็งเกร็ง ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและพิการ ทั้งนี้ผู้ป่วยจะทุกข์ทรมานมากจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งอาจเป็นอัมพาตได้
5.2. ภาวะกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (สลักเพชรจม) มีการดำเนินของโรคเป็นระยะ คือ 1. ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงในสะโพกหรือในก้นลึกๆ หลายรายมีอาการปวดหลังล่างร่วม ระยะแรกอาจมีอาการเป็นๆหายๆ หรือออกกำลังกาย ขยับร่างกาย หรือยืดเหยียด ทำกายภาพ ก็หายไป 2. ระยะปานกลาง หากปล่อยไว้และไม่รีบคลายกล้ามเนื้อที่หดเกร็งและเริ่มหนีบรัดเส้นประสาทไซอาติก อาการจะเริ่มรุนแรงขึ้น คือมีอาการปวดร้าวลงก้นย้อย ลงหลังต้นขา บางรายอาจปวดแถวข้อพับเข่า หรือน่องส่วนบน มีตะคริวบ่อย 3. ระยะรุนแรง เมื่อเส้นประสาทถูกกล้ามเนื้อสะโพกชั้นในหนีบรัดเป็นเวลานานหลายเดือน จะเริ่มมีอาการปวดแปลบร้าวลงขา ลงข้อเท้า ฝ่าเท้า มีอาการชาหรือเสียวซ่าที่ขาหรือเท้า กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินแล้วเข่าทรุดหรือล้ม ขยับขาหรือเท้าลำบาก นอนเหยียดขาตรงไม่ได้ เดินยกก้าวขาไม่ได้ ยืนทิ้งน้ำหนักลงขาไม่ได้ เหยียดตัวตรงไม่ได้ต้องงอตัว นั่งลำบาก ไอจามจะปวดร้าวไปทั้งแนวเส้นประสาท
6. ประชาชนจะเข้าสู่การตรวจรักษาโรคไซอาติก้าได้อย่างไรบ้าง
อย่างที่ได้กล่าวถึงในเบื้องต้นว่าอาการของภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและภาวะกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทมีความคล้ายคลึงกันมากแทบแยกไม่ออก การตรวจร่างกายอย่างเดียวอาจจะไม่พอเพียง (นอกจากแพทย์ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญสูง) สิ่งสำคัญที่จะช่วยวินิจฉัยอาการปวดร้าวลงขาได้ดีที่สุดคือการส่งตรวจทางรังสีวินิจฉัย การอ่านภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI จะเห็นภาวะของหมอนรองกระดูกได้ดีที่สุด รองลงมาคือการอ่านภาพเอ็กซเรย์ ดังนั้นผู้ป่วยอาการไซอาติก้าโดยเฉพาะในระยะปานกลางควรไปพบแพทย์กระดูกและข้อเพื่อตรวจและหาสาเหตุในเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาว่าอาการปวดร้าวลงขาของตนมาจากสาเหตุทางหมอนรองกระดูกหรือทางกล้ามเนื้อ

8. การรักษาโรคไซอาติก้าของบุญบัวคลินิก
บุญบัวคลินิกเชี่ยวชาญในการรักษาอาการปวดหลังชนิดไม่ร้าวลงขา และชนิดร้าวลงขาและ/หรือมีอาการชาลงเท้า หรืออ่อนแรง โดยให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้กับผู้ป่วยไซอาติก้ามาเป็นเวลาร่วม 10 ปี บุญบัวคลินิกสามารถตรวจและรักษาทั้งภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และ ภาวะกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท 

บุญบัวคลินิกการแพทย์แผนไทย ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 41/1 ถนนเจริญสุข ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 

เปิดทำการ: 

วันเสาร์, อาทิตย์, จันทร์, พุธ, พฤหัสบดี 

เวลา 09.30 - 18.00 น.

หยุด: ทุกวันอังคาร และ วันศุกร์ 


  กรุณานำผลเอกซ์เรย์หรือ MRI ทั้งที่เป็นฟิลม์หรือซีดีหรือภาพถ่าย ที่ไปตรวจมาไม่เกิน 6 เดือน มาให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยสำหรับผู้ป่วยที่มาครั้งแรก หากไม่มีก็สามารถทำการนัดหมายเพื่อเข้าตรวจและรักษาได้โดยแพทย์จะใช้วิธีการตรวจร่างกายดูได้ แต่หากแพทย์เห็นว่ามีความจำเป็นต้องขอดูผลเอกซเรย์ผู้ป่วยสามารถไปทำการถ่ายแล้วนำมาในภายหลังได้ 

 

 อัตราค่ารักษาพยาบาล 


ดูรายละเอียดอัตราค่ารักษาพยาบาลได้ที่นี่ 

 

 ระยะเวลาในการรักษา

ทุกคิวจะได้รับเวลาในการตรวจรักษาประมาณ 1 ชั่วโมงทุกเคส หากแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องทำการรักษาต่อเนื่องมากกว่า1 ครั้ง แพทย์จะทำการแจ้งผู้ป่วยว่าจะต้องใช้เวลารักษาอีกกี่ครั้ง โดยความถี่ทั่วไปคือทุก 7-10 วัน หรือสัปดาห์ละหนึ่งครั้งติดต่อกัน จำนวนครั้งขึ้นอยู่กับอาการและภาวะความซับซ้อนของโรค โดยทั่วไปหากเป็นอาการระยะเริ่มแรกจะใช้เวลารักษา 1-2 ครั้ง ถ้าอาการเรื้อรังปานกลาง 3-4 ครั้ง และในรายที่เรื้อรังมานานและมีอาการรุนแรงอาจต้องใช้เวลารักษาต่อเนื่อง 5-8 ครั้ง

 


  

โทรสอบถามอาการและค่าบริการได้ที่


กดปุ่มเพื่อโทรหาเรา 

 

กดปุ่มเพื่อไลน์หาเรา 

 

แผนที่คลินิก


เมื่อถึงวงเวียน 5 แยกสันติธรรม ให้หันหน้าไปทางดอยสุเทพ จะเจอซอยร้าน ตัดแหลก-HAIRCUT ให้ตรงเข้ามาในซอยประมาณ 100 เมตร สังเกตทางซ้ายมือจะเห็นป้ายร้านลาบสีแดง ถัดจากป้ายร้านลาบจะเป็นบ้านสามชั้น เลขที่ 41 ถัดจากบ้านเลขที่ 41 จะเห็นอาคารสองชั้นติดกัน มีป้ายบุญบัวคลินิกหน้าอาคาร

ถ้ามาจากวงเวียน คลินิกจะอยู่ซ้ายมือ 

มาจากทิศตะวันตกไปทางวงเวียน คลีนิกจะอยู่ทางขวามือ

 ดูแผนที่จาก Google Map 

หากที่จอดรถยนต์หน้าคลินิกไม่เพียงพอ ทางบุญบัวคลินิกมีพื้นที่จอดรถอยู่ห่างจากคลินิกประมาณ 50 เมตรไปทางวงเวียน ท่านสามารถเลี้ยวเข้าไปจอดในช่องที่กำหนดให้จอดสำหรับบุญบัวคลินิก (จอดได้ 5 คัน) 

ขั้นตอนการบริการ


  • เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลผู้ป่วยเบื้องต้นเกี่ยวกับการรักษาและอัตราค่ารักษา
  • ผู้ป่วยได้รับข้อมูลเบื้องต้นก่อนเข้ามารับการรักษาตามข้อกำหนด ดังนี้
  • เจ้าหน้าที่คัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นว่าเข้าข่ายพร้อมสำหรับการนวดรักษาได้หรือไม่ 
  • ลงทะเบียนและลงเวชระเบียนผู้ป่วย 
  • แพทย์ทำการตรวจผู้ป่วย ด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย อ่านผลเอกซ์เรย์/เอ็มอาร์ไอ 
  • แพทย์ทำการวินิจฉัยโรค หาสาเหตุของโรค 
  • แพทย์แนะนำวิธีและขั้นตอนในการรักษาโรค โดยวิธีการหัตถเวช
  • ทำหัตถเวชรักษาผู้ป่วย
  • หลังจากการรักษา แพทย์ทำการตรวจร่างกายและประเมินผลของการรักษา
  • แพทย์แนะนำการปฏิบัติตนเพื่อดูแลตนเองของผู้ป่วย เช่น สอนท่าบริหารร่างกาย แนะนำเรื่องอาหารแสลงโรค การเปลี่ยนท่าทางให้ถูกต้อง การใช้สมุนไพร เป็นต้น
  • แพทย์พิจารณาเพื่อทำการนัดผู้ป่วยครั้งต่อไปในกรณีจำเป็นที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • ผู้ป่วยดื่มน้ำสมุนไพรอุ่นๆ เพื่อปรับความดันโลหิตให้สมดุลก่อนกลับบ้านอย่างปลอดภัย

 

image
ภาพสถานที่บุญบัวคลินิก

ภาพภายนอกภายในอาคาร , 2265 ผู้ชม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้